วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กล้วยไม้สกุลหวาย


กล้วย ไม้สกุลหวายนับว่าเป็นสกุลที่ใหญ่ทีสุด เนื่องจากมีอยู่ตามธรรมชาติมากมาย หลายชนิดกว่ากล้วยไม้สกุลอื่น ๆ ซึ่งมีรูปร่างลักษณะทั้งดอก ใบ และลำลูกกล้วยไม้แตกต่างกันออกไปอย่างกว้างขวางเป็นกล้วยไม้ที่มีการเจริญ เติบโตและรูปทรงแบบแตกกอ คือ เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วย เมื่อลำต้นเจริญเต็มที่แล้วจะแตกหน่อเป็นลำใหม่และเป็นกอลักษณะ ทั่ว ๆ ไปของดอก กลีบนอกบนและกลีบนอกคู่ล่างมีความยาวไล่เลี่ยกัน กล้วยไม้สกุลหวายมีอยู่ตามธรรมชาติมากมายหลายชนิด โดยเฉพาะกล้วยไม้ป่าของไทย ซึ่งเรียกว่าเอื้อง ก็จะอยู่ในสกุลหวาย แต่ในที่นี้จะนำมากล่าวเฉพาะหวายซึ่งเป็นกล้วยไม้ป่าของไทยกับหวายต่าง ประเทศบางชนิด ที่มีความสำคัญในด้านการตัดดอกเท่านั้น เช่น หวายมาดามปอมปาดัวร์ หวายซีซ่าร์ เอื้องผึ้ง เอื้องมอนไข่ เหลืองจันทบูร เป็นต้น

ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด



ยาเสพติด หมายถึง สารเคมี หรือสารใดก็ตาม ซึ่งเมื่อบุคคลเสพ หรือรับเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าโดยการฉีด การสูบ การกิน การดม หรือวิธีอื่น ติดต่อกัน เป็นเวลานาน หรือช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วจะก่อให้เกิดเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้เกิดความเสื่อมโทรมขึ้นแก่บุคคลผู้เสพ

ประเภทของยาเสพติดจำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น 4 ประเภท
1 ประเภทกดประสาท ได้แก่
ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท เครื่องดื่มมึนเมา บาร์บิทูเรต ทุกชนิด รวมทั้ง สารระเหย เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาวเป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดมี ร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
2 ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่
ยาบ้า ยาไอซ์ ยาอี กระท่อม โคเคน เครื่องดื่มคาเฟอีน มักพบว่าผู้เสพติด จะมีอาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสน หวาดระแวง บางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่งหรือทำในสิ่งที่คนปกติไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเองหรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น
3 ประเภทหลอนประสาท ได้แก่
แอลเอสดี เห็ดขี้ควาย ดี.เอ็ม.ที.และ ยาเค เป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอน ฝันเฟื่อง หูแว่ว ได้ยินเสียงประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตนเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป็นโรคจิต
4 ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน คือทั้งกระตุ้นกดและหลอนประสาทร่วมกัน ผู้เสพติดมักมี อาการหวาดระแวง ความคิดสับสน เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ควบคุมตนเองไม่ได้และป่วยเป็นโรคจิตได้แก่
กัญชา

ชีวิตมด

ในรอบ 1 ปี มดราชินีสามารถวางไข่ได้ทุกฤดูเพราะมดมีอัตราการตายสูง เมื่อมดราชินีมีอายุมากขึ้นก็จะสามารถวางไข่ได้เพิ่มมากขึ้นด้วย แต่ในรังต้องมีอาหารที่สมบูรณ์ ตามต้มไม้มีใบดก เขียวชะอุ่ม หนาทึบ และปลอดภัย ในรอบ 1 ปีหรือ 3 ฤดู มดราชินีจะผลิตไข่ออกมาน้อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว เพราะว่าถ้า มดราชินีผลิตมดงานมาจำนวนมาก ก็จะทำให้อาหารที่มดแดงช่วยกันสะสมในฤดูร้อนหมดไปเร็ว ในฤดูร้อนกลางช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ ถึง กลางเดือนพฤษภาคม มดราชินีจะผลิตไข่มดเพศผู้และมดเพศเมียรวมทั้งไข่มดงานจำนวนมาก การที่ผลิตไข่ออกมามากเพื่อให้มดงานช่วยกันหาอาหารและขนอาหารที่มีอยู่อุดมสมบูรณ์ในฤดูร้อนมาเก็บไว้ในรังเพื่อจะได้ใช้ในฤดูหนาวและฤดูฝน และมดเพศผู้เพศเมียที่ผลิตมา เพื่อให้ออกไปผสมพันธุ์และดำรงค์เผ่าพันธุ์ใหม่ ปัจจัยในการผลิตมดเพศผู้และเพศเมียเป็นตัวกำหนดการประกอบด้วย เวลาในรอบปี อาหารที่เป็นประโยชน์ และอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ขนาดรังที่ใช้บรรจุไข่ ฮอร์โมนหรือฟีโรโมน ที่ผลิตโดยตัวและอายุของราชินีมดเพศผู้และมดเพศเมียเมื่อเป็นตัวเต็มวัย ระยะแรกจะยังคงอยู่ในรังก่อน เพื่อคอยมลภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมในการเริ่มต้นออกจากรัง และจากสภาพแวดล้อมนี้เป็นเหตุสำคัญในการกระตุ้นการออกจากรังของมดเพศผู้และมดเพศเมีย ปัจจัยในการผลติมดเพศผู้ มดเพศเมียและมดงาน ได้แก่ อาหารที่สมบูรณ์ และอุณหภูมิที่เหมาะสม ตลอดจนการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ขนาดของของรังที่บรรจุไข่ ฮอร์โมน หรือ ฟีรโรโมน ที่ผลิตโดยราชินี และอายุของราชินี มดเพศผู้และมดเพศเมียเมื่อเป็นตัวเต็มวัยระยะแรกจะยังคงอยู่ในรังก่อน เมื่อเข้าสู่สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมจะบินออกไปจากรังเพื่อผสมพันธุ์ต่อไป

วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553